หน้าหลัก

ลำดับคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา

 

แผนภูมิพระไตรปิฎก

 

 

พระไตรปิฎก

 

 

 

 

 

 

พระวินัยปิฎก

พระสุตตันตปิฎก

พระอภิธัมมปิฎก

 

 

 

  1. มหาวิภังค์
  2. ภิกขุนีวิภังค์
  3. มหาวรรค
  4. จุลวรรค
  5. ปริวาร
  1. ทีฆนิกาย
  2. มัชฌิมนิกาย
  3. สังยุตตนิกาย
  4. อังคุตตรนิกาย
  5. ขุททกนิกาย
  1. ธัมมสังคณี
  2. วิภังค์
  3. ธาตุกถา
  4. บุคคลบัญญัติ
  5. กถาวัตถุ
  6. ยมก
  7. ปัฏฐาน

 

คัมภีร์อรรถกถา

                นอกจากพระไตรปิฎกจะเป็นคัมภีร์รากฐาน และเป็นหลักฐานทางพระพุทธศาสนา ยังมีคัมภีร์อื่นอีกที่เกี่ยวข้องตามลำดับชั้นคัมภีร์ ดังนี้
                1.     พระไตรปิฎก เรียกว่า “บาลี” เป็นหลักฐานชั้น 1
                2.     อรรถกถา หรือ วัณณนา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น 2
                3.     ฎีกา เป็นคำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้น 3
                4.     อนุฎีกา เป็นคำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น 4
                นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ที่แต่งขึ้น ว่าด้วยไวยากรณ์ภาษาบาลีฉบับต่าง ๆ และอธิบายศัพท์ต่างๆ เรียกรวมกันว่า “สัททาวิเสส” จึงแสดงให้เห็นว่า “พระไตรปิฎก” เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่สุด
การทำสังคายนาที่ผ่านมาแต่ละครั้ง เป็นที่ยอมรับของพระเถรานุเถระต่าง ๆ มาแล้ว นับตั้งแต่ประเทศอินเดีย ลังกา พม่า มาถึงประเทศไทย ท่านพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ที่มีความเลื่อมใสใน
พระพุทธศาสนา ต่างก็ยอมรับนับถือมาแต่โบราณกาลว่า “พระไตรปิฎก มิได้ถูกเขียนแต่งขึ้นเองในภายหลัง”
                หลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว พระสงฆ์นำมาสังคายนาได้ตั้งชื่อว่า “มหาอรรถกถา” แปลว่า “กล่าวมาก หรือกล่าวความใหญ่” 
                มหาอรรถกถานี้ พระพุทธโฆษาจารย์ ระบุไว้ว่า ชื่อ มหาอรรถกถา ขึ้นสู่ปฐมมหาสังคีติ (สังคายนาครั้งที่ 1) แล้ว พระเถระทั้งหลายมี “พระมหากัสสป” เป็นประธาน กระทำไว้แล้ว
“พระมหินทเถระ” (โอรสพระเจ้าอโศก) เป็นต้น นำมากระทำไว้โดยสิงหฬภาษา จึงเกิดมีชื่อว่า
“สีหฬฏฐกถา” และพระมหินทะเป็นผู้ได้นำ “มหาอรรถกถา” ที่ได้กระทำไว้ตั้งแต่ปฐมสังคายนา (ครั้งที่ 1) มาแล้ว  คัมภีร์เหล่านี้มาสู่ลังกา และได้แปลเป็นภาษาสิงหฬ ต่อมาท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เดินทางมาเพื่อแปลอรรถกถาสู่ภาษามคธ  อันเป็นภาษาหลักของคัมภีร์พุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาท
                ดังนั้น คัมภีร์อรรถกถาของพระไตรปิฎก จึงมี 2 ประเภท คือ
                1.     อรรถกถา ภาษาสิงหฬโบราณ (ต้นฉบันอันตรธานหมดแล้ว)
                2.     อรรถกถา สมัยท่านพระพุทธโฆษาจารย์ และพระอรรถกถาจารย์อื่น ๆ
                ขยายความดังนี้
                1.     อรรถกถา ของ วินัยปิฎก ฉบับภาษาสิงหฬเรียกว่า มหากุรุนทีอรรถกถา ท่านแปลออกมาเป็นภาษามคธชื่อว่า “คัมภีร์สมันตปาสาทิกา”
                2.     อรรถกถา ของ สุตตันตปิฎก ฉบับภาษาสิงหฬ เรียกว่า มหาอรรถกถา ท่านแปลออกเป็น 4 คัมภีร์คือ
                        คัมภีร์ที่ 1       สุมังคลวิลาสินี (อรรถกถา ทีฆนิกาย)
                        คัมภีร์ที่ 2       ปปัญจสูทนี (อรรถกถา มัชฌิมนิกาย)
                        คัมภีร์ที่ 3       สารัตถปกาสินี (อรรถกถา สังคยุตตนิกาย)
                        คัมภีร์ที่ 4       มโนรถปูรณี (อรรถกถา อังคุตตนิกาย)
                3.     อรรถกถา ของ อภิธรรมปิฎก ฉบับภาษาสิงหฬ เรียกว่า มหาปัจจรี ท่านแปลออกเป็น 3 คัมภีร์คือ
                        คัมภีร์ที่ 1       อัตถลาสินี (อรรถกถาพระธรรมสังคิณี)
                        คัมภีร์ที่ 2       สัมโมหวิโนทนี (อรรถกถาวิภังค์)
                        คัมภีร์ที่ 3       ปรมัตถทีปนี (อรรถกถา ปัญจปกรณ์)

 

เรียบเรียงโดย อ.นวลจิต อุทัยเชฏฐ์