หน้าหลัก

การลอยกระทง

บูชารอยพระพุทธบาท

 

                การลอยกระทงเป็นบทบาทหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ให้จารึกไว้ในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ และ อรรถกถาปุณาโนวาทสูตร
               
ประเพณีลอยกระทง

                ความจริงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพราะการที่นางนพมาศ ได้ประดิษฐ์ “กระทง” ให้มีลักษณะเป็นรูป “ดอกบัว” นั้น เพื่อเป็นเครื่องสักการะสำหรับลอยไปบูชารอย
พระพุทธบาท โดยฝากไปกับพระแม่คงคา
                เนื่องจาก “ดอกบัว” เป็นสัญลักษณ์ สำหรับพระพุทธเจ้าเท่านั้น พระพุทธรูปปางลีลาทุกองค์ มักจะสร้างเป็นรูป “ดอกบัว” เพื่อรองรับฝาพระบาททั้งสองข้าง

 

ประวัติการลอยกระทง

                สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น มีพระราชพิธี”จองเปรียง” ในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นนัก
ขัตฤกษ์ชักโคม ลอยโคม ประชาชนพลเมืองชายหญิงต่างตกแต่งโคมชัก โคมแขวน โคมลอย ทุกตระกูลทั่วทั้งพระนคร เพื่อถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงสักการะ “พระจุฬามณี” บนสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์
                ส่วนพระสนมกำนัลฝ่ายใน ก็ทำโคมลอยด้วยบุปผาชาติเป็นรูปต่างๆ ประกวดกัน เพื่อถวายให้ทรงอุทิศบูชารอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำ นัมทานที แต่ “นางนพมาศ” พระสนมเอกของ “พระร่วงเจ้า” นั้น ได้ประดิษฐ์โคมลอย(คือกระทง) อย่างงดงามเป็นพิเศษ นางได้เล่าต่อไปว่า
“ข้าน้อยก็กระทำโคมลอยตกแต่งให้งดงามประหลาดกว่าพระสนมกำนัลทั้งปวง โดยเลือกผกาเกสรสีต่างๆ ประดับเป็นรูปดอกกระมุฑบาน กลีบรับพระแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกสีสลับให้เป็นลวกลาย แล้วเอาผลพฤกษาลดาชาติมาแกะจำหลักเป็นรูปมยุระคณานก
วิหกหงส์ ให้จับจิกเกสรบุปผาชาติอยู่ตามกลับดอกกระมุท เป็นระเบียบเรียบเรียงวิจิตรไปด้วยสีย้อมสดสวย ควรจะทอดทัศนายิ่งนัก ทั้งเสียบแซมเทียนธูปแล้วประทีปน้ำมันเปรียงเจือด้วยไขข้อ
พระโค
                สมเด็จพระร่างเจ้า ทอดพระเนตรเห็นโคมงามประหลาดของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระทัยมาก จึงรับสั่งให้ถือเป็นประเพณีว่า ในวันเพ็ญเดือน 12  นี้ ให้ประดิษฐ์โคมลอยเป็นรูปดอกบัว ไปสักการะรอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำ นัมทานที ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเรียกว่า “ลอยกระทงทรงประทีป” หลังจากนั้น พระมหากษัตริย์ก็ถวายดอกไม้เพลิง บูชาพระรัตนตรัยทุกพระอารามหลวงแล้วทรงทอด ผ้าบังสุกุลจีวร ถวายพระภิกษุสงฆ์ บรรดาขุนนางและประชาราษฎร์ ก็ดำเนินตามพระยุคลบาท เป็นที่สนุกสนานกันทั่วหน้า
                เมื่อพระร่วงเจ้าทรงลอยกระทงแล้ว ก็ลงเรือพระที่นั่งประพาสชมแสงจันทร์ และแสดงทอดพระเนตรโคมไฟ โปรดให้ “นางนพมาศ” โดยเสด็จด้วย ทรงรับสั่งให้นางผูกกลอนให้พวก
นางบำเรอขับถวาย นางนพมาศก็นิพันธ์กลอนสดถวายมีใจความว่า
                                “...ข้าน้อมนพมาศ
                        อภิวาทบาทบงส์ด้วยจงจิต
                        ยังนิพนธ์กลกลอนอ่อนความคิด
                        อันชอบผิดขอจงโปรดซึ่งโทษกรณ์
                        เป็นบุญตัวที่ได้ตามเสด็จประพาส
                        นักขัตฤกษ์ประชาราษฎร์สโมสร
                        สว่างไสวไปทั่วพระนคร
                        ทิฆัมพรก็แจ่มแจ้งแสงจันทร์เอย ฯ..”
                                “...น่าแสนสำราญจิต
                        ทั้งสิบทิศรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์
                        สงสารแต่พระสนมนางกำนัล
                        มิได้เห็นเป็นขวัญนัยนาแม้เสด็จด้วยที่นั่งบรรลังก์ขนาน
                        เวรอยู่งานและเจ้าจอมมาพร้อมหน้า
                        จะชวนกันเกษมเปรมปรีดา
                        ขอประทานโทษข้าน้อยเอย ฯ..”
                เมื่อฟังกลอนจึงรับสั่งถามว่า ต้องการให้พวกเจ้าจอมหม่อมห้ามมาด้วยนั้น เห็นว่าจะได้ประโยชน์อย่างใด นางก็กราบทูลสนองว่า เพื่อเปิดโอกาสให้นางเหล่านั้น ได้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าแพรพรรณที่สวยงามได้ออกหน้าสักครั้งหนึ่ง ก็จะชื่นชมยินดีมีความสุข และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอยู่ไม่รู้วาย บรรดาเครื่องอาภรณ์ที่ได้ทรงโปรดพระทานไปแล้วนั้น ก็จะได้มีโอกาสตกแต่งกันในครั้งนี้
                ครั้งได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงพอพระทัย ในคือต่อมาก็โปรดให้บรรดานางใน ได้ตามเสด็จโดยทั่วหน้ากัน และเป็นประเพณีนับแต่นั้นมา รวมความว่า พระราชพิธีนี้เรียกว่า การลอย
พระประทีป พระเจ้าแผ่นดินเสด็จลงเรือพระที่นั่ง ทรงพระภูษาขาว เครื่องราชย์อาภรณ์ล้วนทำด้วยเงิน แล้วล่องลอยไปตามลำน้ำ นอกจากนี้ยังมีขบวนแห่เรือการเล่นต่างๆ และขบวนเรื่อผ้าป่า เพื่อนำไปทอดตามอารามต่างๆ แล้วมีการจุดดอกไม้เพลิงเป็นการเฉลิมฉลองอีกด้วย

 

หลักฐานพิธีลอยกระทงในสมัยอยุธยา

 

                ในสมัย สมเด็จพระเอกทัศราชา ครองกรุงศรีอยุธยา ครั้นถึงเพ็ญเดือน 11 ออกพระวรรษา พระองค์เสด็จทรงประทีปเสด็จอยู่บนเรือขนาน แล้วถวายธูปเทียนดอกไม้ และกระทงกระดาษตามเทียนและเรือต่างๆ เป็นอันมาก แล้วพระองค์อุทิศถวายพระพุทธบาทใน “นัมทานที” แล้วก็ลอยกระทงอุทิศส่งไปเป็นอันมากเต็มทั้งแม่น้ำ แล้วจุดดอกไม้เพลิงที่ริมคงคาต่างๆ เป็นอันมาก
                ในสมัย สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ ถึง ณ วันอังคาร เวลาค่ำประมาณ 14 ชั่งโมง ก่อนอรุณ มีข้าราชการไทย 2 คน ลงมาบอกทูตานุทูตว่า (ในค่ำวันนั้น) จะมีกระบวนแห่เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคในการพระราชพิธีฝายพระศาสนา กระบวนเสด็จจะผ่านที่พักราชทูตมา กระบวนพิธีที่ทูตตานูได้เห็นนั้น ดังนี้คือ ตามบรรดาวัดริมฝั่งแม่น้ำทั้งสองฟากทุกวัด ต่างปักไม้ไผ่ลำยาวขึ้นเป็นเสา โน้มปลายไม้ลงมาผูกกับเชื่องชักโคมต่างๆ (ครั้นได้เวลา) พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเเสด็จโดยกระบวนเรือพร้อมด้วยกรมพระราชวังสถานมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และเจ้าพระยามหาอุปราชเรือที่เสด็จล้วนปิดทดงมีกันดารดาดสีและผูกม่านในเรือ ปักเชิงทองและเงิน มีเทียนจุดตลอดลำ
มีเรือข้าราชการล้วนแต่งประทีปแห่นำตามเสด็จเป็นอันมาก และในการพิธีนี้ยังมีโคมกระดาษทำเป็นรูปดอกบัวสีแดงบ้าง สีขาวบ้าง มีเทียนจุดอยู่ในนั้น ปล่อยลอยน้ำลงมาเป็นอันมากจะนับจะประมาณมิได้ นอกจากลอยโคมยังมีการจุดดอกไม้น้ำกันอีกเป็นอันมาก และมีระบำดนตรีเล่นมาในเรือด้วย
                ต่อกระบวนเสด็จถึงเรือกระบวนแห่ผ้าไตรและเครื่องบริขาร เป็นของพระราชอุทิศแก่
พระสงฆ์ตามพระอารามที่อยู่ตามริมแม่น้ำในการพระราชพิธีนี้ การพระราชพิธีที่พรรณามานี้
ข้าราชการไทยอธิบายแก่ทูตานุทูตว่า เป็นราชประเพณีเคยทำมาในกรุงศรีอยุธยาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำวันขึ้น 13 ค่ำ เดือนเพ็ญระวัน 1,  วันกลางเดือนนั้น, วันแรมค่ำ 1, วันแรม 7 ค่ำ, วันแรม 8 ค่ำ, และวันต้นเดือนเมื่อพ้นแต่ “วิสา” แล้ว พระราชพิธีอันนี้ ทำเพื่อการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ(ซึ่งบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์) ในดาวดึงส์พิภพ และบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่ง “พระยานาค” ได้กราบทูลอันเชิญสมเด็จพระพุทธองค์ ให้ทรงประดิษฐานไว้เหนือหาดทราย “ฝั่งแม่น้ำนัมทานที”
                ในสมัยรัตโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดทอน ตรงกับพระราชพิธีจองเปรียง ลดชุด ลอยโคม ส่งน้ำ ซึ่งเป็นพิธีทำในเดือน 12
                เดือน 12 การพิธีจองเปรียง ลดชุด ลอยโคม ลงน้ำ(ที่จริงส่งน้ำ) ตั้งระทาดอกไม้ในพระเมรุ 4 ระทา หนัง 2 โรง เสด็จลงเรือเบญจา 5 ชั้น พระที่นั่งชั้น 4 นั้น สมเด็จพระอัครมเหสีแม่ยั่วเมือง ชั้น 3 , ลูกเธอชั้น 2 , หลานเธอ ชั้น 1 , พระสนมห่มชมพูใสสุกหร่ำ ประทีปทั้ง 5 ชั้น เรือปลาลูกขุนเฝ้าหน้าเรือเบญจา เรือตะเฆ่แนบทั้ง 2 ข้าง ซ้ายดนตรีขวามโหรี ตั้งเรือเวนเป็นตั้งแพนโคมทุกลำ
                ถ้าเสด็จลง เป่าแตรโห่ 3 ลา เล่นหนัง ระบำเลี้ยงลูกขุนและฝายใน ครั้นเลี้ยงแล้วตัดถมอแก้เวนโห่ 3 ลา เรือเวนตั้งแพนแห่ตัดถมอลอยเรือพระที่นั่งล่องลงไปส่งน้ำ
                ครั้นถึงพุทไธสวรรย์ จุดดอกไม้เพลิง เล่นหนัง เสด็จลงเรือสมรรถไชยกับสมเด็จพระภรรยาเจ้าทั้ง 4 ลูกเธอหลานเธอ พระสนมลงเรือประเทียบขึ้นมาข้าง “เกาะแก้ว”
                ส่วนการพระราชพิธี ซึ่งได้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นพระราชพิธีพราหม์ มิได้เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธศาสนาสืบมา การที่ยกโคมขึ้นนั้น ตามคำโบราณกล่าวว่า ยกขึ้นเพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม การซึ่งว่าบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามนี้ เป็นต้นตำราแท้ในเวลาถือไสยศาสตร์
                แต่ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนา ก็กล่าวว่าบูชา “พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ในดาวดิงส์พิภพ” ซึ่งปรากฏอยู่ ณ หาดทราย เรียกว่า “นะมะทานที เป็นที่ “ฝูงนาคทั้งปวง” สักการะบูชาอยู่
                ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การลอยกระทง เดิมเป็นการลอยไปเพื่อบูชา “รอยพระพุทธบาท”
               
รอยพระพุทธบาท 5 แห่ง (รอย)

                สำหรับรอยพระพุทธบาทที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก นั้นมีอยู่ 5  แห่ง ดังนี้
                1.     สุวัณณบาลิก คือรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานไว้ที่ยอดเขาในลังกาทีปแห่งหนึ่ง
                2.     สุวัณณปัพพรตสัจจพันธ์คีรี รอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ที่ ยอดเขาสุวรรณบรรพต (ในสยามประเทศนี้) แห่งหนึ่ง
                3.     สุมนกูฏ รอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ยอดเขาสุมนกูฏแห่งหนึ่ง
                4.     โยนกปุระ รอยพระพทธบาทประดิษฐานไว้ในโยนกประเทศแห่งหนึ่ง
                5.     นัมนาทายะ นทิยา รอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ในแม่น้ำนัมมทานที แห่งหนึ่ง
                ดังนั้นการลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธบาทแล้ว การบูชาพระพุทธบาทโดยการถือเป็นประเพณี พากันเดินไปนมัสการรอยพระพุทธบาทก็มีขึ้น ซึ่งในสมัยปัจจุบันถนนหนทางดีขึ้น ประเพณีการเดินไปบูชาพระพุทธบาทก็เริ่มเสื่อมความสำคัญลง แต่ความสำคัญศรัทธาของรอย
พระพุทธบาทยังมีอยู่
                ในวโรกาสครบรอบ 60 พรรษา ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ มีการสร้างรอยพระบาทจำลองทองคำ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองอีกด้วย ประดิษฐานที่วัดพระรัตนศาสดาราม และประเทศไทยเป็นเมืองพระพุทธ ดังนั้น วัดไทยในประเทศเป็นจำนวนมากมายหลายวัดที่ได้มีการจำลองรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ที่วัดต่างๆ

 

พระพุทธบาทแห่ง (รอย) ที่ 1

 

                ในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม มีพระภิกษุสงฆ์ไทยพวกหนึ่งออกไปถึงลังกาทวีป ไปบูชารอยพระพุทธบาทที่เขาสมุนกูฏ (ตามประวัติกล่าวว่า พระพุทธบาทที่ประดิษฐานบนยอดเขาสมุนกูฏในประเทศลังกานั้น มีฝ่าพระบาทยาว 3 ศอก กว้างศอก คืบ ลึก 4 นิ้ว ปลายพระบาทชี้ไปข้างทิศตะวันตก แต่ในครั้งหนึ่งพวกโปรตุเกสไปกินเมืองลังกา ได้ให้คนเอาสังข์ไปขัดสีตีต่อยจนลายนั้นอยู่ที่ สุวรรณบรรพต ซึ่งอยู่ในประเทศไทย คนไทยไม่บูชารอยพระพุทธบาทที่นั่นดอกหรือ จึงต้องออกไปบูชาถึงลังกาทวีป” พระภิกษุพวกนั้นก็นำความมาทูลพระเจ้าทรงธรรม จึงโปรดให้มีตราสั่ง
หัวเมืองให้เที่ยวตรวจค้นดูตามภูเขาว่า จะมีรอยพระพุทธบาทอยู่แห่งใดหรือไม่
                ครั้งนั้น ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรีได้ความจาก “พรานบุญ” ว่าไปล่าเนื้อในป่าเชิงเขาแห่งหนึ่ง ยิงถูกเนื้อเจ็บลำบากหนี้ขึ้นไปบนไหล่เขาเชิงไม่ไป พอบัดเดี๋ยวเนื้อตัวนั้นวิ่งออกจากเชิงไม้ไปเป็นปกติดังเก่า พรานบุญนึกหลายใจจึงขึ้นไปดูบนไหล่เขานั้นเห็นมีรอยอยู่ในศิลาหมือนรูปเท้าคนขนาดยาวสักศอกเศษ และมีน้ำขังอยู่ในนั้น ก็สำคัญว่าเนื้อคงหายบาดแผลเพราะกินน้ำนั้น จึงตักเอามาลองทาตัวดู กลากเกลื้อนที่เป็นอยู่นานก็หายหมด ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรีไปตรวจเห็นมีรอยจริงดังพรานบุญว่า จึงบอกเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าทรงธรรมเสด็จออกไปทอดพระเนตร ทรงพระราชดำริว่า คงเป็นรอยพระบาทตรงตามที่ลังกาบอกมาเป็นน่าแท้ ก็ทรงโสมนัสศรัทธาด้วยเห็นว่าเป็น “บริโภคเจดีย์” เนื่องชิดติดต่อถึงพระพุทธองค์ ประเสริฐกว่า “อุเทสิกเจดีย์”  เช่นพระพุทธรูปและพระสถูปเจดีย์ ซึ่งเป็นของสร้างโดยสมบัติ
                ครั้นเมื่อ พ.ศ.2167 จึงโปรดให้สร้างเป็นมหาเจดีย์สถาน มีพระมณฑปสวมรอบรอย
พระพุทธบาทและสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่ และทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่ง โดยรอบ
พระพุทธบาทได้มอบหมายให้ผู้มีปฏิบัติรักษาพระพุทธบาท ที่บริเวณจึงได้นามว่า เมืองปรันตปะ เรียกกันเป็นสามัญว่า “เมืองพระพุทธบาท”
                นับแต่นั้น พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถวายสักการบูชา และทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระพุทธบาทเป็นประจำสืบมา จนมีสภาพงดงามเป็นที่ชื่อชมของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายในปัจจุบันนี้

 

พระพุทธบาทแห่งที่ 2 (มี 4 รอย)

 

                โยนกปุระ อาจหมายถึงดินแดนทางภาคเหนือของไทย ที่เคยเป็นอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรโยนก ภาพเขียนฝาพนังหรือลายทองรดน้ำบนตู้พระธรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีกมีรอยพระพุทธบาท 4 รอย ที่มีอยู่ซ้อนกัน และปรากฏทางทิศเหนือของแผ่นภาพ อาจหมายถึง รอย
พระพุทธบาทที่โยนกปุระ
                พระพุทธบาทสี่รอย ที่ อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ ชื่อเดิมเรียกว่า พระพุทธบาทรังรุ้งเมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ พร้อมด้วยพุทธสาวกจำนวน 500 องค์ ได้เสด็จจารึกมายังประเทศนี้ โดยแวะฉันภัตตาหารอยู่บนยอดเขาแห่งนั้น ซึ่งขณะนั้นมีชื่อว่า เวภารบรรพต ขณะประทับอยู่นั้นก็ได้ทราบว่า บนเทือกเขาแห่งนี้ ได้มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า มาประทับอยู่บนก้อนหินใหญ่แล้วทั้ง 3 พระองค์ คือ พระกักกุสันโธ(รอย 1) ,พระโกนาคม (รอย 2) ,พระพุทธกัสสป(รอย 3) และต่อไป พระศรีอารีย์ ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้ และจะประทับรอบพระบาทสี่รอยนี้ให้เป็นอันอันเดียว แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระบาท ซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ (รอย 4) เมื่อพระพุทธองค์ทรงนิพพานล่วงแล้วประมาณ 2000 วัสสา เทวดาทั้งหลายต้องการจะให้ “พระพุทธบาทสี่รอย” ปรากฏแก่คนทั้งหลาย จึงเนรมิตเป็น “รุ้ง” (เหยี่ยว) ตัวใหญ่บินลงมาเอาลูกไก่ของชาวบ้านที่อยู่ตีนเขานั้น แล้วก็บินกลับขึ้นไปสู่ยอดเขา คนผู้นั้นก็โกรธมาก จึงตามขึ้นไปแต่ก็ไม่เห็น “รุ้ง” ตัวนั้น เห็นแต่รอยพระพุทธบาท
สี่รอยจึงได้ลงบอกเล่าแก่ชาวบ้านทั้งหลายต่างก็พากันไปสักการบูชามากมาย แต่นั้นมาจึงได้ชื่อว่า “พระบาทรังรุ้ง” (รังเหยี่ยว)
                ในสมัยนั้น พระยาเม็งราย ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ทราบข่าวจึงเสด็จขึ้นไปกราบไหว้บูชา พระราชาที่สืบราชสมบัติต่อมา ก็ได้ขึ้นไปกราบพระพุทธบาทสี่รอยทุกๆ พระองค์ หลังจากนั้น “พระบาทรังรุ้ง” หรือ “รังเหยี่ยว” นี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “พระพุทธบาทสี่รอย” ซึ่ง ครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้เมื่อ พ.ศ.2472
                สมัย สมเด็จพระนเรศวร ยกทัพไปรบที่เมืองหาง พระองค์ทรงทราบว่ามีรอยพระพุทธบาทอยู่บนยอดเขา เรียก “เขารังรุ้ง” จึงได้เสด็จขึ้นไปนมัสการ ทรงเปลื้องเครื่องทรงทั้งสังวาลและภูษา แล้วทรงถวายไว้ในรอยพระพุทธบาท และทำการสักการบูชาด้วยธง ธูปเทียน ข้าวตอกดอกไม้ มีเครื่องทั้งปวงเป็นอันมาก แล้วจึงทำการพิธีสมโภชอยู่เจ็ดราตรี(ซึ่งพระพุทธบาทที่โยนกปรุระนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า 4 องค์ที่อยู่ซ้อนกัน)

 

พระพุทธบาทแห่ง (รอย) ที่ 3

 

                “สมเด็จพระร่วงเจ้าทอดพระเนตรเห็นโคมงามประหลาดของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระทัยมาก จึงรับสั่งให้ถือเป็นประเพณีว่า ในเดือนเพ็ญ 12 นี้ ให้ประดิษฐ์โคมลอยเป็นรูปดอกบัวไปสักการบูชารอยพระพุทธบาท ณ ฝั่งแม่น้ำนัมทานที” ดังนั้นรอยพระพุทธที่ นัมทายะ สู่เกาะคนชาวน้ำ (ชาวเล) หมู่คนน้ำเกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อมพระพุทธเจ้า ส่วนมากหมู่คนขอรอยเท้าไว้ชายทะเล
                เกาะแก้วพิศดาร ลักษณะรอยชัดเจนมาก สันพระบาทนั้นอยู่ทางทิศตะวันตก ปลาย
พระบาทนั้นอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นพระบาทเบื้องขวาใหญ่มาก มีขนาดไล่เลี่ยกับรอยพระบาทที่สระบุรีและมีกงจักรอยู่กลางฝาพระบาท
                พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ. นครศรีธรรมราช ได้ไปประชุมชาวบ้านที่นั่น เพื่อสร้างรอยพระบาทจำลองไว้เพื่อรักษาศรัทธาคนที่ไปถึงแล้ว แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นรอยพระบาทจริง พ่อท่านคล้ายท่านบอกว่า “รอยพระบาทที่นี่เป็นของจริง” หลวงพ่อฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรี ก็ได้ยืนยันว่า รอยพระบาทที่พระพุทธเจ้าประทับไว้ ณ ริมฝั่งน้ำ “นัมทา” นั้น อยู่ที่ “เกาะแก้ว” จ.ภูเก็ต
นี่เอง ก็นับว่าเป็นบุญของชาวภาคใต้ ที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปให้ถึงสระบุรีเพียง 2 วัน คือ
พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทที่นี่ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพัสสา 22
                ในวันขึ้น 15 ค่ำ จึงเสด็จกลับไปประทับรอยพระบาทที่สระบุรี เพราะฉะนั้น รอยพระบาทที่ปักษ์ใต้จึงเป็นรอนแรกในประเทศไทย ทั้งจารึกไว้ในพระไตรปิฏก (มัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์) แต่ยังไม่มีใครเปิดเผยเป็นทางการมาก่อน ยังคงเป็นเรื่องลี้ลับ เพราะส่วนใหญ่เข้าใจว่า อาจจะอยู่ที่ลังกาหรืออินเดีย รอยพระบาท 2 แห่งนี้ เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ควรจะเป็นสถานที่ใกล้เคียงกัน เพราะตามเรื่องที่ปรากฏในพระสูตรนั้น มีโดยย่อว่า
                “ในเช้าวันหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับพระอัครสาวกและพระสาวก 499 รูป ได้เสด็จออกมาจากพระเชตวัน (อินเดีย) ขึ้นสู่เรือนยอดอัน วิสสุกรรมเทพบุตร เนรมิตถวาย 500 หลัง (อีกหลังหนึ่งว่างเปล่า) โดยทางอากาศ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 300 โยชน์ (4,800 ก.ม.) เพื่อทรงโปรด ท่านสัจจพันธฤาษี (สระบุรี) ให้เป็นอรหันต์แล้วจึงเสด็จมาบิณฑบาตพร้อมกับพระภิกษุ 500 รูป ที่บ้านน้องชายของ พระปุณณะ ซึ่งเป็นชาวเมืองสุนาปรันตะ (เพชรบุรี) เมื่อพระองค์ประทับอยู่ที่นั้นประมาณ 2-3 วัน จึงได้เสด็จโปรด นิมมทานาคราช พร้อมกับประทับรอยพระบาทไว้ ณ ฝั่งแม่น้ำ นิมมทา (คำว่า “นาค”ในอุทานวรรคตรัสว่าเป็น “คนทะเล”)
                ตาม อรรถกถาปุณโณวาทสูตร กล่าวต่อไปว่า รอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิดเมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด กลายเป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่ (แต่ที่น่าแปลกก็คือว่าน้ำตรงบริเวณด้านรอยพระบาทนั้น จะเป็นน้ำวน ไม่มีใครกล้าเข้าไปหาปลา คงจะเป็น..วังบาดาล)

 

รอยพระพุทธแห่ง (รอย) ที่ 5

 

                เป็นรอยพระพุทธบาทที่ สุวัณณมาลิก ประดิษฐานอยู่ที่ประเทศลังกา อีกรอยหนึ่ง พระพุทธบาทรอยที่ 3 เป็นรอยที่ชาวพุทธทำพิธีลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธที่ประดิษฐานที่ริมน้ำนั่นเอง สำหรับรอยพระพุทธบาทที่ 5 รอยนั้น ในฝ่าพระบาทเรียกว่า ลายลักษณ์พระบาท
                คนในสมัยก่อนได้นำมาผูกเป็นบทกลอนไว้สรรเสริญ ในปัจจุบันนี้บางวัดยังท่องสรรเสริญลายลักษณ์พระบาทอยู่ แต่ส่วนใหญ่หายสาบสูญ ดังนั้นนักปราชญ์จึงนำต้นฉบับเก่า ทั้งเป็นของภาคกลางและภาคใต้ที่นิยมท่องกันในสมัยนั้น มาเทียบเคียงและตรวจทานกับคัมภีร์ “พุทธปาทลักษณะ” ซึ่งจารึกเป็นภาษาบาลี และได้นำมาแก้ไขปรับปรุง มีดังนี้

ทำนองเสนาะ

คำนมัสการลายลักษณ์พระพุทธบาท

ตั้ง นะโม 3 จบ

                ข้าพเจ้าขอบังคม พระพุทธบาทบรม ทั้งคู่เรืองรอง
                สิบนิ้วของลูก ต่างธูปเทียนทองนัยเนตรทั้งสอง ต่างประทีปทูนถวาย
                ผมเผ้าเกล้าเกศ ต่างดอกปทุมเมศ บัวทองพรรณราย
                วาจาเพราะพร้อง ต่างฆ้องกลองถวาย ดวงฤทัยมั่นหมาย ต่างรสสุคนธา
                พระบาททศพล ทั้งคู่เลิศล้น ปรากฏรจนา
                มีกงจักรแก้ว เพริศแพร้วทอตา กงกำโสภา ดวงดุมเพลาทอง
                มงคลงามรรพ ร้อยแปดประดับ บาทบงสุ์ทั้งสอง
                ทั่วทั้งไตรภพมีครบทุกช่อง ลายลักษณ์เรืองรอง ทุกห้องเชิดฉันท์
                มีทั้งฉัตรแก้ว พระขรรค์เลิศแล้ว หอกทองไพพรรณ
                มีช่างชูแว่น อ้อนแอ้นเอววัลย์มือถือบุษบัน สอดสร้อยสังวาลย์
                มีปราสาทราชวัง แท่นทิพย์เตียงตั่ง เกยแก้วสุริยกาญจน์
                เฉิดฉายพรายแพรว เขนยเกยแก้ว พัดใบตาลโบกแล้ว พัดหางยูงทอง
                มีมงกุฏรัตน์ พัชนีโบกปัด บาตรแก้วแววว่อง
                ดวงแก้วมณี รัศมีขาวผ่อง กระออมเงินกระออมทอง กระออมแก้วแววไว
                ยังมีถาดทอง ถาดเงินเรืองรอง ถาดแก้วประไพ
                มีวิมานพระอิศวร พระนารายณ์เลิศไกร เทวาไสว เข้าเฝ้าวันทา
                มีปาหิมพานต์ ต้นพฤกษาสาร ตระการรจนา
                มีผลแก่อ่อน แซมซ้อนบุปผา ครุฑธิราชปักษา อยู่ป่าฉิมพลี
                มีพญาไก่แก้ว นกกระเรียนเลิศแล้ว กินรากินรี
                คาบพวงมาลา ร่ายรำงามดี การะแวกโนรี แขกเต้าเขาขัน
                มีพญานกกระหิตวิจิตรแดงฉันท์ ยูงทองลาวัลย์ สีสันเฉิดฉาย
                มีพญาไกสร ช้างแก้วกุญชร ม้าแก้วเพริศพราย
                ราชสีห์ย่างเยื่อง เสือเหลืองเรียงราย นาคราชผันผาย นางโคคลาไคล
                ให้ลูกกินนม เคล้าเคลียน่าชม ละเมียดละไม
                มีจักรพรรตรา  เสนาเกรียงไกร ถือธงทิวไสว ดูงามยรรยง
                มีฉ้อฉกามา สิบหกชั้นฟ้า พระอินทร์จำนง แสนสาวชาวสวรรค์
                เทวัญล้อมองค์ เข้าเฝ้าเป็นวง ยังแท่นทิพย์วิมาน มีพรหมโสฬส
                สิบหกชั้นปรากฏ ล้วนแก้วแกมกาญจน์ ประดับมุขทุกชั้น
                โบกบันสิงห์หาญ พระพรหมชมฌานทุกชั้นพรหมา
                มีทั้งพระอาทิตย์ พระจันทร์เรืองฤทธิ์ ชักรถไคลคลา
                เวียนรอบราศี รัศมีรุ้งฟ้าดวงดาวดารา ประดับเมืองสวรรค์
                ทวีปน้อยนั้นมี นับได้สองพัน มีจักรวาลเวียน พิศเพียนอนันต์
                เขาพระสุเมรุเรืองฉันท์  หลักโลกโลกา
                มีเขาสัตตภัณฑ์ ล้อมรอบเจ็ดชั้น เขาแก้วนานา
                มีสีทันดร อยู่ระหว่างบรรพตา มีเจ็ดคงคา สายสินธุ์แสงใส
                มีเขาไกลลาศ เงินยวงเดียรดาษ ขาวผ่องประไพ
                มีเจ็ดสระศรี ชลธีหลั่งไหล บัวบานไสว ดูงามเบญจพรรณ
                มีมหาสมุทรทัย ลึกล้ำกว้างใหญ่ มัจฉาอนันต์
                ปลาเงินปลาทองลอยล่องตามกัน มังกรผายผัน จระเข้หรา
                มีทั้งเต่าทอง ดำผุดลอยล่องในท้องคงตา มีสำเภาแก้ว
                พรายแพรวทอตา สำเภาเงินโสภา สำเภาทองบรรจง
                มิสิ้นไตรภพ พรรณามาจบ ลายลักษณ์พระองค์
                มีสิ้นทุกสิ่ง งามยิ่งยรรยง ในพื้นบาทบงสุ์ พุทธบาทบาทา
                พระศรีสรรเพชญ์ พระพุทธเจ้าเสด็จ โปรดโลกโลกา
                มีดอกบัวทอง ทั้งสองโสภา ผุดจากพสุธา รองรับบาทบงสุ์
                ทุกย่างพระบาท ปวงดอกปทุมมาศ มิได้คลาดทุกสถาน
                ที่ใดไม่สบาย พระพายพัดพาน หอบเอาสุคนธาน มนัสการพระองค์
                หอบเอาทรายแก้ว นวลละอองผ่องแผ้ว มาโปรยปรายลง
                ให้ทางราบรื่น ในพื้นบาทบงสุ์ พระพุทธเจ้าเสด็จลง โปรดโกลหญิงชาย
                ยามเยื้องยุรยาตร ปวงดอกปทุมมาศ อันตรธานหาย
                จึงได้ประจักษ์ ลายลักษณ์ทั้งหลาย เหยียบย่ำทำลาย จะเป็นโทษหนักหนา
                พระศาสดาเจ้าเสด็จเข้านิพพาน สิ้นแล้วตัณหา
                ยังแต่รอยบาทบงสุ์ อันทรงพระกรุณา บรรจบครบห้า ประดิษฐานโดยมี
                พระบาทหนึ่งปรากฏ อยู่เหนือบรรพต สุวรรณมาลี
                พระบาทสองนั้น อยู่สุวรรณคีรี ใกล้สระบุรี ศรพระนคร
                พระบาทสามนั้นโสต อยู่เขาสมุนกูฏ ลังกาบร
                พระบาทสี่ทศพล อยู่บนสิงขร ฝ่ายเบื้องอุดร โยนกบุรี
                พระบาทห้า ประดิษฐาน อยู่ริมชลธาร นัมทานที
                เป็นที่วันทา นาคาธิบดี มัจฉากุมภีร์  เข้าไหว้แน่นอนันต์
                พระบาทห้าแห่ง พระบาทเจ้าสำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น
                เป็นที่วันทา  เทวาทุกชั้นมนุษย์คนธรรพ์ ครุฑธิราชอุรา
                ลายลักษณ์เลิศไตร บูชาเข้าไว้ หญิงชายถ้วนหน้า
                เช้าค่ำไก่ขัน ทุกวันเวลา อุตส่าห์ภาวนา เป็นนิจนิรันดร์
                ใครว่าลายลักษณ์ ได้บุญมากนักแปดหมื่นสี่พัน เหมือนได้พบองค์
                พระผู้ทรงธรรม์ พรรณนามานั้น หวังเข้านิพพาน
                                อะหัง วันทามิ ทูระโต
                                อะหัง วันทามิ ธาตุโย
                                อะหัง วันทามิ สัพพะโส
                                สาธุ...สาธุ...อนุโมทานิ
                                นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ ฯ

 

 

เรียบเรียงโดย อ.นวลจิต อุทัยเชฏฐ์